ศรีวิชัย

     ในพื้นที่ที่เรียกว่าประเทศไทยปัจจุบันมีการพัฒนาการชุมชน  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็มีการฝังศพ  เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกในแถบใกล้เคียงและไกลออกไป  เช่น  จีน  อินเดีย  จึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้  และเปลี่ยนศิลปะและภาษาซึ่งกันและกัน  รวมทั้งความเชื่อบางอย่าง  ประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่  11 – 16    ทางภาคกลางมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า   “ ทวารวดี”    ทางภาคใต้  ช่วงพุทธศตวรรษที่  13 – 18 เกิดรูปแบบศิลปะที่เรียกว่า      “ศิลปะศรีวิชัย” และมี  “เทวรูปรุ่นเก่า” ร่วมสมัยกันรวมทั้งศิลปะทวารวดีด้วย        กลุ่มเทวรูปรุ่นเก่าใช้เรียกประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์        เช่น      พระศิวะ  พระนารายณ์    (พระวิษณุ)    พระสุริยะเทพ       ซึ่งประติมากรรมเหล่านี้อาจพบแถบภาคกลาง  ภาคใต้และภาคตะวันออก     ซึ่งศิลปะศรีวิชัยบางองค์นักวิชาการก็จัดเป็นเทวรูปรุ่นเก่าด้วย

  • ที่ตั้งของศรีวิชัย

             – ยอร์ช เซเดย์  เป็นนักวิชาการท่านแรกที่เสนอว่า “ศรีวิชัย” ในจารึกหลักที่ 23 จารึกที่พบในสุมาตรา  คือ “ชิลิโฟชิ” ในเอกสารจีน และ “ศรีบูซา” ในเอกสารอาหรับ และเสนอว่า เมืองหลวงของศรีวิชัย อยู่ที่ปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา

             – นักวิชาการอีกหลายท่านเสนอแนวคิดเกี่ยวกับที่ตั้งของศรีวิชัยแตกต่างกันออกไป  เช่น

                กลุ่มที่เชื่อว่าศูนย์กลางอยู่บนเกาะชวา

                กลุ่มที่เชื่อว่าศูนย์กลางอยู่ที่ไชย

ศรีวิชัย

 

ที่มา :: บรรยายโดย อ. อชิรัชญ์   ไชยพจน์พานิช

Leave a comment