เพลงลาวดวงเดือน

 เพลงลาวดวงเดือนทำนอง ๒ ชั้น นั้น เดิมชื่อ “ลาวดำเนินเกวียน” เป็นเพลงที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงนิพนธ์ขึ้น เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการทางภาคเหนือโดยทางเกวียน สาเหตุที่ทรงนิพนธ์เพลงนี้ขึ้นเนื่องจากโปรดเพลง “ลาวดำเนินทราย ๒ ชั้น” ที่พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้แต่งทางดนตรีไว้ตามทางร้องแบบสักวา จึงทรงนิพนธ์เพลงสำเนียงลาวที่มีท่วงทำนองอ่อนหวานไพเราะคล้ายคลึงกับเพลงลาวดำเนินทรายขึ้นอีกเพลงหนึ่งทรงตั้งชื่อว่า “เพลงลาวดำเนินเกวียน” แต่เนื่องจากบทร้องเพลงนี้ขึ้นต้นด้วยคำร้องที่ว่า โอ้ละหนอ…ดวงเดือนเอย..” ซึ่งเป็นคำที่ติดหูผู้ฟังเป็นส่วนใหญ่ จึงมีผู้นิยมเรียกชื่อเพลงนี้ว่า ลาวดวงเดือน มากกว่าชื่อ ลาวดำเนินเกวียน และนิยมเรียกกันเช่นนี้สืบมาจนึงปัจจุบัน
     เพลงลาวดวงเดือนเป็นเพลงในอัตรา ๒ ชั้น ดำเนินทำนองไพเราะอ่อนหวานน่าฟังนับเป็นเพลงไทยสำเนียงลาวที่มีผู้รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และถือว่าเป็นเพลงไทยอมตะเพลงหนึ่งซึ่งฟังไพเราะเสมอไม่ว่าจะบรรเลงด้วยแนวเพลงอย่างไรหรือบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดก็ตาม
บทร้องเพลง ลาวดวงเดือน ๒ ชั้น

 

 

ท่อน ๑ โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย พี่มาเว้า รักเจ้าสาว คำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรัก เจ้าดวงเดือนเอย

ท่อน ๒ ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
จะหาไหน มาเทียม โอ้ เจ้าดวงเดือนเอย

ท่อน ๓ หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย เจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยัง บ่ เลย เนื้อหอมทรามเชย เราละหนอ

ที่มา :: http://www.thaikids.com

พระพุทธรูปขอม

     ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ 

 

ขอม

 

 

ที่มา ::        http://www.prc.ac.th

ศิลปะขอม

          ศิลปะที่พบในดินแดนไทย    ระหว่างพุทธศตวรรษที่    12 –18    โดยมีลักษณะเดียวกัน   หรือใกล้เคียงกันกับศิลปะในประเทศกัมพูชา  คือ   หน้าตาอาจจะเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนหรือผิดเพี้ยนเล็กน้อย  ชื่อเรียกแบบต่างๆ  ที่ปัจจุบันมีคนเรียกกัน

 

     1.  ศิลปะลพบุรี

• ความสําคัญของเมืองลพบุรี    คือ     ในช่วงที่วัฒนธรรมเขมร    หรืออาณาจักรกัมพูชาสมัยโบราณเรืองอํานาจและแพร่เข้ามาถึงประเทศไทย  เมืองลพบุรีที่เป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน  เป็นดินแดนสําคัญในเขตภาคกลาง  จึงเรียกว่าศิลปะลพบุรี

• ประเด็นการเมืองในสมัยรัชกาลที่     4 –  6       ในประเทศไทยเริ่มศึกษา     ด้านโบราณคดี  ประวัติศาสตร์       และศิลปกรรมอย่างจริงจังในช่วงรัชกาลที่  4 ,  5 และ 6       ในช่วงเวลานั้นเกิดลัทธิที่เรียกว่า  “ล่าอาณานิคม”   โดยมีการครอบครองเขมร  พม่า  ลาว  อินโดนิเชีย    ซึ่งอยู่รอบข้างเรายกเว้นไทยที่ไม่ตกอยู่ในอํานาจการครอบครองของใคร   ถ้านักประวัติศาสตร์ของเราในเวลานั้นเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่า  ศิลปะเขมร  มันอาจ

ทําให้ประเทศฝรั่งเศสซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชา      อาจใช้ความชอบทําเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ว่าครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยตกอยู่ภายใต้อํานาจทางการเมืองของกัมพูชา        ก็น่าจะมีสิทธิ์ครอบครองประเทศไทยด้วย  จึงหลีกเลี่ยงว่าเป็นศิลปะลพบุรีแทน

• ข้อจํากัดในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในระยะเริ่มแรก  ยังไม่ลงตัวในหลายเรื่อง

   

     2.   ศิลปะเขมร   (ศิลปะขอม)

• กระแสการแบ่งยุคศิลปะโดยใช้เชื้อชาติ 

• คํานึงถึงอํานาจทางการเมืองของอาณาจักรเขมรโบราณที่อยู่เหนือดินแดนไทย   ดังนั้นจึงมีการเรียก  ศาสนสถานว่าเขมรหรือขอม

• ความไม่เหมาะสมของชื่อศิลปะลพบุรี  เขมรและขอมเป็นชื่อของชนชาติ  คําว่า  เขมร  เป็นคําที่ชาวกัมพูชาเขาใช้เรียกตัวเองมีปรากฏในจารึกดินแดนกัมพูชามาหลายร้อยปี  คําว่า  ขอม  เป็นคําที่คนในดินแดนประเทศไทยใช้เรียกพวกชาวกัมพูชา  ดังนั้นทั่งสองคํามีความหมายเดียวกัน 

     

     3.  ศิลปะเขมรในประเทศไทย/ ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย

• ความไม่เหมาะสมของชื่อศิลปะลพบุรี

• ความเป็นเอกลักษณ์บางประการของศิลปะที่แตกต่างออกไปจากศิลปะเขมรแท้ๆ     ดังนั้นควรเติมคําว่าประเทศไทยต่อท้ายเพื่อแยกให้เฉพาะเจาะจงลงไป

• บางครั้งมิได้สร้างขึ้นภายใต้อํานาจของกษัตริย์เขมร       เพราะมีชนชั้นนําหรือผู้นําท้องถิ่นเป็นผู้อุปถัมภ์

 

 

ขอม

 

ที่มา :: บรรยายโดย อ. อชิรัชญ์   ไชยพจน์พานิช

ที่มารูป :: http://www.prc.ac.th